“สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยร่วมกับบริษัท เทค อี-บิสสิเนส เซ็นเตอร์ จำกัด ต้อนรับรองอธิบดีกรมอีคอมเมิร์ซและสารนิเทศ กระทรวงพาณิชย์จีน ผนึกกำลังวงการอีคอมเมิร์ซภาคเอกชน สนับสนุนผู้ประกอบการไทยขยายตลาดสู่จีน คาดโต 30% ในปี 2020”

กรุงเทพฯ 9 ธันวาคม 2562 – – สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยร่วมกับบริษัท เทค  อี-บิสสิเนส เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ Thailand e-Business Center (TeC) นำโดยนายสมเกียรติ ไชยศุภรากุลและนายปฐม   อินทโรดม ให้การต้อนรับ MS. JIA SHUYING รองอธิบดีกรมอีคอมเมิร์ซและสารนิเทศ กระทรวงพาณิชย์จีนพร้อมด้วยคณะ เพื่อประชุมหารือในเรื่องของสภาพตลาดอีคอมเมิร์ซไทย-จีน และด้านความร่วมมือไทย-จีนที่ผ่านมา และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาและการส่งเสริมการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจีน ภายใต้การขับเคลื่อนจากกลจักรสำคัญอย่างภาครัฐบาลจีน เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซไทยที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากความนิยมสินค้าไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนและยอดการส่งออกสินค้าไทย-จีน ตั้งแต่ปี 2018 ที่มากถึง 47,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และด้วยความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ กระทรวงพาณิชย์จีนและกระทรวงพาณิชย์ไทยจะทำข้อตกลงความร่วมมือ MOU ในปี 2020 ซึ่งคาดว่าจะสามารถเร่งอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของทั้งสองประเทศได้มากกว่าสามเท่า

นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าวว่า “การพัฒนาตลาด     อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยให้เติบโตอย่างรวดเร็วและประสบความสำเร็จ สามารถศึกษาวิธีคิดและบทเรียนจากประเทศจีนได้ เช่น การผลักดันทั้งส่วนรัฐบาลใหญ่และรัฐบาลท้องถิ่น การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการคิดค้นสินค้าและบริการใหม่ ๆ อยู่เสมอ”

ด้านนายปฐม อินทโรดม กรรมการ ครีเอทีฟ ดิจิทัลอีโคโนมี สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการบริหาร TeC ได้ให้แง่มุมด้านความสำคัญของเทคโนโลยีต่อตลาดอีคอมเมิร์ซจีนว่า “ประเทศไทยขาดดีมานด์ในการสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นอาวุธหลักในการแข่งขันทางธุรกิจใน 1-2 ปีข้างหน้า รวมถึงเราเชี่ยวชาญเพียงแค่การเปิดรับและใช้งานเทคโนโลยี ซึ่งต่างจากประเทศจีนที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง อันเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนี่อาจเป็นโอกาสดีที่เราจะสร้างความร่วมมือไทย-จีน เพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ เรียนรู้ ดูตัวอย่างความสำเร็จจากจีน สร้างความเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง”

ด้านนางสาวกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TeC และคณะกรรมการสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าวว่า “อีคอมเมิร์ซไทยในปี 2017-2018 มีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 17-18 % ซึ่งถือเป็นอับดับที่ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในปี 2018-2019 มีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 20 % กอปรกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลปัจจุบันซึ่งให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซเป็นอย่างมาก และหากอาศัยโมเดลสวนอุตสาหกรรม “e-Industrial Park” หรือที่จีนเรียกว่า “e-Commerce Park” มาประยุกต์ใช้ในไทย โดยนำร่องที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการผลิต ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า ผ่านการสนับสนุนจากภาครัฐ ตลอดจนการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านอีคอมเมิร์ซไปยังต่างประเทศ ก็จะยิ่งทำให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซไทยเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและเข้มแข็งยิ่งขึ้น”

ทั้งนี้ปัจจัยเร่งที่ทำให้อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจีนเติบโตได้อย่างรวดเร็ว คือ การเติบโตของตลาดผู้บริโภค (consumer goods) ที่เติบโตถึง 20 % ในช่วง 10 ปี ด้วยการมียอดขายผ่านอีคอมเมิร์ซในปี 2019 ประมาณ 480,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.4 ล้านหยวน ส่วนด้านการค้าปลีกออนไลน์ในปี 2019 มีมูลค่าประมาณ 140,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณหนึ่งล้านหยวน ซึ่งอีคอมเมิร์ซมีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภคถึง 40% และทำให้เกิดการจ้างงานมากถึง 47 ล้านคนในปี 2018 และ 50 ล้านคนในปี 2019 ช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเกิดการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นมากขึ้น

ข้อมูลจากกรมศุลกากรจีน ระบุว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2019 สินค้าภูมิภาคและสินค้าการเกษตรของจีน มียอดการค้าปลีกออนไลน์สูงถึง 40,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ มีตัวเลขการนำเข้าและส่งออกจีนกับต่างประเทศ ประมาณ 17,600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งหากพิจารณา cross border ไทย-จีน พบว่ามีมูลค่าประมาณ 220 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นถึง 82.4% ทั้งสองทาง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในกลุ่มอีคอมเมิร์ซที่เป็น cross border มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว เนื่องจากการนำอีคอมเมิร์ซมาเป็นใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี ที่ช่วยให้วิสาหกิจทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม (S&M) สามารถประหยัดต้นทุนทั้งในด้านการผลิต (Production Cost) และด้านต้นทุนทางการตลาด (Marketing Cost)

จากการหารือพบว่าบทเรียนความสำเร็จในการพัฒนาอีคอมเมิร์ซในประเทศจีนเกิดจากปัจจัยหลายๆด้านดังต่อไปนี้

  1. ผู้ประกอบการจีนมีความกล้าลองในสิ่งใหม่ คิดค้นนวัตกรรม และมีกลุ่มonline consumersที่กล้าลองสินค้าและบริการใหม่ๆ และการมีอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มขนาดกลางและเล็ก เช่น ซูหลิง หลิงเพ้ย เกิดขึ้นจำนวนมาก นอกเหนือจากอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ อย่าง อาลีบาบา หรือ JD
  2. ตลาดจีนมีประชากรมากถึง 14,000 ล้านคน โดยรัฐบาลจีนกลางและท้องถิ่น ให้การสนับสนุนทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยคามสะดวก และด้านเทคโนโลยีเป็นสำคัญ ทำให้มีการจัดซื้อผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ หรือonline shoppingถึง 639 ล้านคน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและผู้สูงอายุซึ่งมีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต
  3. มีมาตราการสนับสนุนผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซในประเทศจีน เช่นe-commerce parkอย่างต่อเนื่อง และนโยบายการสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดต่าง ๆ รวมทั้งการการทำกฎหมายอีคอมเมิร์ซฉบับแรกของโลก ซึ่งเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2019 ที่ผ่านมา
  4. การพัฒนาและปรับปรุงอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ โดยพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรค เพื่อทางรัฐบาลสามารถวิเคราะห์สาเหตุและออกมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาและเกิดพัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้น

หลังจากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาคมฯ และผู้แทนจากรัฐบาลจีน ทางสมาคมฯ ได้เสนอแนวทางความร่วมมือของภาครัฐบาลจีนและเอกชนไทยไว้ดังนี้

  1. ความร่วมมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้ (Best practice)และกรณีศึกษา จากทั้งอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มขนาดใหญ่และของท้องถิ่น เนื่องจากภายในปี 2020Huawei ได้นำเทคโนโลยี 5G มาลองใช้ในประเทศไทย และจะเกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะยกระดับธุรกิจไทย เช่น เทคโนโลยี AI, Big data มาใช้มากขึ้น
  2. ประเทศไทยทดลองนำโมเดลe-commerce park ที่มีมากถึง 4,000 แห่งทั่วประเทศจีน และโมเดลอีคอมเมิร์ซท้องถิ่นที่มี อีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มของตนเอง เช่น ฝั่งตะวันตกของจีน เฉินตู เฉฉวน ซี่งมีอัตราการเติบโตสูงมากมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มโอกาสผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซไทยได้การเข้าสู่ตลาดจีนและท้องถิ่นจีนมากขึ้น

ด้าน MS. JIA SHUYING รองอธิบดีกรมอีคอมเมิร์ซและสารนิเทศ กระทรวงพาณิชย์จีนและคณะจากหน่วยงานจีน ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการไทยไว้ว่า

  1. ในส่วนการส่งออกเครื่องสำอางไทย ที่ใช้สมุนไพรท้องถิ่นผ่านไปยังประเทศจีน ต้องผ่านหน่วยงานควบคุมมาตรฐานเครื่องสำอาง สังกัดกระทรวงพาณิชย์จีน ให้ถูกต้องตามกฎหมาย (SDA)โดยทางคณะรัฐบาลจีนแนะนำ ผู้ประกอบการสามารถทดลองขายปลีกผ่านเว็บไซต์ไทย หรือนำเข้าเพื่อนำมาใช้ส่วนตัว ซึ่งทางประเทศจีนยังไม่มีนโยบายที่เข้มงวด แต่มีต้นทุนการขนส่งสูง
  2. กลยุทธ์ในการเข้าอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มระดับท้องถิ่นในประเทศจีน ต้องพิจารณาความต้องการของผู้บริโภค การเรียนรู้ปรับปรุง พัฒนาและการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ให้เหมาะสม รวมทั้งสร้างความร่วมมือทั้งในระดับรัฐบาล-รัฐบาล เอกชนและรัฐบาล รังสรรค์โครงการและกิจกรรมใหม่ ๆ ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งระบบสาธิตอีคอมเมิร์ซของจีน 3,000 แห่งทั่วประเทศนั้น รัฐบาลท้องถิ่นให้การสนับสนุนทั้งเชิงนโยบายและมาตรการต่าง ๆ อาทิ ด้านการขนส่ง ด้านการเงิน และด้านเทคโนโลยี
  3. ทุก ๆ ปี ประเทศจีนจะมีการประชุมe-commerce expo ครั้งใหญ่ ซึ่งจะมีทั้งการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากทั้งฝั่งรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น และผู้ประกอบการจีนทั่วประเทศ ซึ่งผู้ประกอบไทยสามารถเข้าร่วมเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ ประสบการณ์ รวมถึงได้แลกเปลี่ยนความเห็น และแง่มุมทางธุรกิจ อันจะนำไปสู่การต่อยอดเพื่อพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โอกาสนี้ TeC และสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ตลาดจีนได้อย่างมืออาชีพ และพร้อมสนับสนุนให้เหล่าผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนาให้ธุรกิจของตัวเองได้อย่างก้าวกระโดด เล็งเห็นช่องทางและโอกาสที่จะได้ทำการตลาดกับการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างประเทศจีน ผ่านบริการด้านต่าง ๆ ของ TeC ซึ่งมีความพร้อมและยินดีช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างเต็มความสามารถ

สามารถติดต่อ TeC ได้ที่ www.tec.work ทางเพจ Facebook : Thailand e-business centre – Tec  ทาง Line@ : @tecworld ทางโทรศัพท์ 02-115-8124 หรือทางอีเมล info@tec.work