ที่   สำนักงานชั่วคราวย่านนิมมานเหมินท์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายมารุต ศิริโก รองประธานคณะกรรมการกฎบัตรแห่งชาติ ได้ประชุมคณะกรรมการ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่องกฎบัตรเชียงใหม่ กับการพัฒนาเมือง 15 สาขา

ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ นำร่อง 3 สาขาประกอบด้วย ด้านเกษตรและอาหารปลอดภัย ด้านโครงการพัฒนาแฟลตฟอร์มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานระดับย่าน (SMART BLOCK) และด้านขนส่งสีเขียว หรือระบบขนส่งมวลชนที่ปลอดมลภาวะ เบื้องต้นกำหนด แผนพัฒนาระยะ 3 ปี ในเขตเมืองเก่า หรือรอบคูเมืองเชียงใหม่ รัศมี 2.5ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่แรก

    โดยเป้าหมายสาขาเกษตรและอาหารปลอดภัย ปีแรก คือ พัฒนา SMART FARM นำร่อง 20 แห่ง จากผู้สนใจร่วมโครงการ 50 แห่ง เพื่อยกระดับการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ และมีมาตรฐาน อาทิ ข้าว กาแฟ โคนม ไก่พันธุ์และดอกไม้ โดยลดการใช้สารเคมี และลดต้นทุนผลิต 20-30 % ซึ่งราคาสินค้าดังกล่าวต้องต่ำกว่าราคาท้องตลาด ทั้งนี้เป้าหมายภายใน 10 ปี ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ต้องมีพื้นที่อาหารปลอดภัยอย่างน้อย 40 % โดยมีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะทำงานกฎบัตรเชียงใหม่ เป็นผู้ออกแบบ SMART FARM พร้อมเป็นที่ปรึกษาโครงการดังกล่าว ซึ่งผู้ร่วมโครงการไม่เสียค่าใช้จ่ายอย่างใด ทั้งนี้โครงการดังกล่าว ได้รับงบสนับสนุน 5 ล้านบาท

   สำหรับรูปแบบของ “กฎบัตรเมือง” (City Charter) เป็นการพัฒนาเมืองในรูปแบบใหม่ ที่ได้กำหนดเจตนารมณ์ วิสัยทัศน์ เป้าหมายการพัฒนา รวมทั้งการจัดทำแผนปฏิบัติการ การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับมาตรฐานทางกายภาพเมือง รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจให้ภาคส่วนต่างๆ ร่วมกันรับผิดชอบภารกิจในการขับเคลื่อนการพัฒนา ทั้งนี้ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจท้องถิ่น ได้มีการพัฒนา “กฎบัตรอาหาร” (Thailand Food Charter) ขึ้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา พร้อมการออกแบบสมาร์ฟาร์ม จำนวน 80 แห่ง โดยได้เริ่มนำร่องการพัฒนาใน 3 พื้นที่แล้ว ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดภูเก็ต

        ส่วการนำผลการศึกษามาตรฐานสมาร์ทฟาร์มและอาหารปลอดภัย เน้นมาตรฐาน Internationnal Food Standards พร้อมข้อเสนอตัวชี้วัดสมาร์ทฟาร์มของกฎบัตรแห่งชาติ รวมถึงเผยแพร่และกำหนดแนวทางปฏิบัติต่อเครือข่าย กฎบัตรอาหารร่วมกัน นอกจานี้ ยังมีการบรรยายทางวิชาการด้านกฎหมายและข้อกำหนดการ การบรรยายเจตนารมณ์การพัฒนากฎบัตรอาหาร และการปฏิบัติการ เพื่อสร้างความเข้าใจและปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานที่มีความเหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ ตลาดและความต้องการสังคม