พรุลานควาย พรุน้ำจืดกว้าง 15,000 ไร่ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำแหล่งสำคัญในสามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะกินพื้นที่รอยต่อ 2 จังหวัด ระหว่าง อ. ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี และ อ.รามัน จ.ยะลา ถือเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของคนโดยรอบทั้งในยะลาและปัตตานี

สำหรับชาวรามัน พรุลานควาย มีความหมายต่อคนในชุมชนโดยรอบอย่างยิ่ง ผู้คนรอบพรุดำรงชีวิตผูกพันกับแหล่งน้ำแห่งนี้อย่างเหนียวแน่น ตั้งแต่การทำประมงจับปลาเลี้ยงชีพ เป็นแหล่งอาหารสำหรับปศุสัตว์ โดยเฉพาะควาย และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้มาเยือน อีกทั้งเป็นแหล่งอาศัยของนกน้ำจำนวนมาก

สำหรับชาวรามัน พรุลานควาย มีความหมายต่อคนในชุมชนโดยรอบอย่างยิ่ง ผู้คนรอบพรุดำรงชีวิตผูกพันกับแหล่งน้ำแห่งนี้อย่างเหนียวแน่น ตั้งแต่การทำประมงจับปลาเลี้ยงชีพ เป็นแหล่งอาหารสำหรับปศุสัตว์ โดยเฉพาะควาย และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้มาเยือน อีกทั้งเป็นแหล่งอาศัยของนกน้ำจำนวนมาก

เดิมทีรอบพรุมีต้นไม้ใหญ่ ทุ่งหญ้ากว้างอยู่มากมาย แต่ปัจจุบันต้นไม้ใหญ่เริ่มหายไป ด้วยหลายปัจจัยสาเหตุ ทำให้ทุ่งหญ้าเริ่มแคบลงไปด้วย จากที่มีจำนวนควายที่หากินในพรุถึงหมื่นตัว ลดลงเหลือประมาณ 2 พันตัว ชาวชุมชนโดยรอบตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ จึงร่วมกันหารือแนวทางฟื้นฟูระบบนิเวศของพรุลานควายขึ้น เริ่มเกิดวงน้ำชาและสภาพรุ ขยายตัวเป็นเครือข่ายชุมชนรักษ์พรุลานควายขึ้น มีข้อเสนอต่างๆจากทุกภาคส่วนของชุมชน ประกอบด้วย กลุ่มประมงและการจัดการน้ำ กลุ่มเกษตรและการจัดการที่ดิน กลุ่มปศุสัตว์ในพื้นที่พรุ กลุ่มอาชีพสตรี และกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ นับว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายในการฟื้นฟูอนุรักษ์พรุลานควายของคนในพื้นที่โดยรอบ มีการร่วมคิดร่วมลงมือจากคนใน 2 จังหวัดชายแดนใต้ ที่ผูกพันและหวงแหนแหล่งข้าวแหล่งน้ำแห่งนี้

#ใต้สุดอยู่ไม่ไกล #ใต้ธงไทยเดียวกัน
#ยะลา #รามัน #พรุลานควาย #พื้นที่ชุ่มน้ำ #แม่น้ำสายบุรี