อวัยะสำคัญของร่างกาย ที่ทุกคนรู้จักกันดีก็คือ ตับ เพราะตับมีหน้าที่ในการย่อยอาหาร สร้างภูมิต้านทานเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค กรองของเสียออกจากเลือด ฉะนั้น เราไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าไม่มีตับ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องดูแลรักษาตับ เพื่อให้ตับกลับมาแข็งแรง และเป็นตัวคัดกรองสิ่งสกปรกออกจากร่างกายต่อไปนานๆ 

ทั้งนี้ เรามาเช็คโรคที่เกี่ยวข้องกับตับกันดีกว่า ว่ามีโรคอะไรบ้าง! เผื่อใครที่อ่านอยู่จะได้รู้ตัว หันมาดูแล และใส่ใจตรวจเช็คร่างกายกันมากขึ้น

โรคตับ ที่เกิดจากการถูกทำลาย และไม่ได้รับการรักษา

ตับเป็นอวัยวะที่บอบบาง และถูกทำลายได้ง่าย เมื่อไหร่ที่ถูกทำลาย จะเริ่มจากการเป็นแผลเป็นเล็กๆ ก่อน หากไม่ได้รับการรักษา และยังคงถูกทำลายไปเรื่อยๆ นั้น จะพัฒนาเป็นโรคตับแข็ง ในระยะนี้ การทำงานของตับจะลดลง จนกระทั่งไม่ทำงาน กลายเป็นตับวายในที่สุด ถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการแสดงของโรคตับ

อาการในระยะแรกๆ อาจจะยังไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อโรคดำเนินไปเรื่อยๆ อาการจะเริ่มจากมีอาการคัน เป็นจ้ำเลือดง่าย ผิวเหลือง ตาเหลือง หรือเรียกว่าดีซ่าน ในบางรายมีอาการปวดท้อง เบื่ออาหาร ท้องมาน รวมถึงขา และข้อเท้าบวม

โรคตับวายเฉียบพลัน

หากรู้ตัวว่า เป็นโรคตับ แล้วไม่มีการรักษา หรือดูแลอย่างจริงจัง อาจทำให้เกิดโรคเรื้อรัง บางกรณีที่ตับมีการสูญเสียการทำงานเฉียบพลัน อาการแสดงเหมือนกับตับวายเรื้อรัง ประกอบด้วยดีซ่าย ปวดท้อง เป็นต้น ซึ่งใช้เวลาของโรคเพียง 1 สัปดาห์ หรือน้อยกว่าเท่านั้น ดังนั้น เมื่อมีอาหารเหล่านี้ ควรพบแพทย์ทันที

สาเหตุของโรคตับ : บางคนมีโรคประจำตัว อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับโรคตับ ดังนั้น วิธีการดูแลตัวเองเบื้องตัน คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกายให้มากขึ้น พร้อมพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
 
 

นอกจากนี้ ประเทศไทยของเรามีรายงานมาว่า คนที่น้ำหนักตัวสูง มีความเสี่ยงในการเป็นโรคตับมากกว่า เพราะคนที่ไขมันเยอะ จะมีภาวะที่เรียกว่า ไขมันพอกตับ แม้ว่าจะมีความรุนแรงน้อยกว่า แต่ภาวะไขมันพอกตับสามารถพัฒนาเป็นโรคตับแข็งได้ ซึ่งสาหตุหนึ่งมาจากสิ่งเหล่านี้

1. การทานยา หรือได้รับสารเคมีบางชนิด

ในยา และอาหารเสริมบางชนิด อาจเป็นตัวทำลายตับได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาพารา ยาแก้อักเสบเม็ดสีชมพู หรือแก้อักเสบอื่นๆ แต่ยาเหล่านี้ ส่งผลต่อตับเมื่อกินในขนาดยาสูง หรือกินร่วมกับแอลกอออล์ หรือยาอื่นๆ ที่ส่งผลต่อตับเท่านั้น

2. การติดเชื้อ เมื่อร่างกายอ่อนแอ

เชื้อไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิด และที่พบบ่อย คือ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี และซี รวมถึงไวรัสอื่นๆ ที่ทำลายตับได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่จะติดไวรัสตับอักเสบนั้น ได้แก่ การใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือทานอาหารไม่สะอาด หรือทานอาหารร่วมกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น

3. การดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ตับทำงานหนัก เนื่องจากจะต้องกำจัดแอลกอฮอล์ออกจะกระแสเลือด ซึ่งกระบวนการกำจัด จะเกิดสารที่เป็นพิษต่อตับมาทำลายตับอีกด้วย เพราะฉะนั้น การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก เป็นเวลานานๆ นั้น จะทำให้เกิดโรคตับได้ง่าย เริ่มจากมีไขมันมาพอกตับก่อน จากนั้นเมื่อโรคดำเนินไปเรื่อยๆ จะเกิดภาวะตับอักเสบจากแอลกอฮอล์เกิดขึ้น พัฒนาเป็นตับแข็ง และตับวาย อาจถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด

4. ท่อน้ำดีอุดตัน

ท่อน้ำดี คือ ท่อส่งน้ำดีที่ต่อจากตับไปสู่ลำไส้ ซึ่งหากท่อดังกล่าวอุดตัน ทำให้มีน้ำดีค้างอยู่เป็นเหตุให้ตับถูกทำลายได้ เรียกว่า Budd-Chiari syndrome ที่หาได้ยาก หรือเกิดนิ่วในท่อน้ำดีขึ้น ก็เป็นสาเหตุในตับถูกทำลาย เป็นเหตุให้เกิดภาวะดีซ่าน และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา

การวินิจฉัยโรคตับ

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคตับนั้น จะเริ่มจากการตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับ หากผลออกมาผิดปกติ แพทย์อาจจะสั่งตรวจอัลตราซาวด์ , เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือ ทำ MRIs เพิ่ม เป็นการตรวจอย่างละเอียด หรือบางครั้งแพทยต้องทำการเจาะเอาชิ้นเนื้อจากตับมาตรวจ

ในส่วนของการรักษา : โรคตับระยะแรก การรักษาที่ดีที่สุดคือ การปรับพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของโรค หรือการใช้ยาบางชนิดช่วยชะลอการทำลายตับ เช่น สเตียรอยด์ หรือการผ่าตัด เป็นต้น 

ต่อมาคือ การหยุดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าคนที่เป็นโรคตับ จะอยู่ในระดับไหนก็ตามแต่ หากถูกทำลายด้วยแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง อาจจะไม่เป็นผลดีแน่ ดังนั้น เพื่อป้องกันการถูกทำลายของตับเพิ่ม จึงควรเลิกแอลกอฮอล์ หรือจำกัดไม่เกิน 1 ดื่มมาตรฐานในผู้หญิง และ 2 ดื่มมาตรฐานในผู้ชาย

ไม่เพียงเท่านี้ การทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างเพียงพอ ก็ช่วยทำให้ตับกลับมาสุขภาพดีได้ โดยอาหารที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ ธัญญาพืช ผลไม้ ผัก โปรตีนจากสัตว์ต่างๆ หลักการเลือกคือ เลือกที่กากใยสูง และเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน และเค็ม

ในส่วนของผู้ป่วยที่ตับถูกทำลายมากๆ : แพทย์อาจเลือกวิธีกาปลูกถ่ายตับมารักษา ซึ่งใช้เพียงบางส่วนของตับเท่านั้น หลังจากนั้นส่วนที่ปลูกถ่ายจะเจริญ และแบ่งตัวจนเป็นตับได้อีกครั้ง เช่นเดียวกับผู้ที่บริจาคก็จะเจริญมาเหมือนเดิมเช่นกัน 

เคล็ดลับดูแลสุขภาพ

สิ่งสำคัญของการดูแลสุขภาพ ควรการตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมถึง ทำตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญ คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หากคุมไม่ได้จะส่งผลถึงการทำงานของตับได้ เพราะฉะนั้น นอกจากอยู่ใต้ความดูแลของแพทย์แล้ว ตัวคุณเองก็ควรดูแลสุขภาพร่วมด้วย นั่นคือ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 3-4 วัน / สัปดาห์ และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพภายในและภายนอกให้แข็งแรง

 

เมนูขนมหวาน ที่ควรเลี่ยง!
กินยาดักไข้ ความเชื่อผิดๆ ที่ควรเปลี่ยน!
เวย์เพชรจ้า เวย์โปรตีนคนยุคใหม่ ภายใต้แบรนด์ WHEYWWL!

 

สนใจรับเคล็ดลับลดน้ำหนัก เพิ่มกล้าม เพิ่มเติมได้ที่

Facebook : WHEYWWL

Instagram : wheywwl

Twitter : WheyWWL Official